บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

Thai Police In The Future ตำรวจไทยในโลกอนาคต

รูปภาพ
Thai Police In The Future ตำรวจไทยในโลกอนาคต "เราเกิดในยุคที่เทคโนโลยีก้าวกระโดด ปัญหาต่างๆ เราสามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยี" พ.ต.ต.วสุเทพ ใจอินทร์  สวัสดีครับทุกคน วันนี้วันจันทร์ สบายๆ เรามาพูดกันเรื่องเทคโนโลยีกันดีว่า ด้วยความที่ผมเป็นตำรวจ และเป็นตำรวจที่ชื่นชอบเรื่องไอทีเป็นอย่างมาก รวมทั้งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมาใหม่ๆ เลยมาคิดว่าตำรวจไทยในอนาคต(หรือปัจจุบัน) ถ้านำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ก็จะเกิดประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาของตำรวจ กับประชาชนที่มีอยู่ในทุกวันนี้ได้อย่างง่ายๆ เลย ยังไงหรือครับ ตามผมไปดูกัน แว่นตาหรือกล้องที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ได้ ๒๔ ชั่วโมง อุปกรณ์นี้จะช่วยให้การทำงานของตำรวจเป็นไปด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ง่าย เพราะบันทึกเหตุการณ์ได้ตลอดทั้งภาพและเสียง มีประโยชน์ทั้งตำรวจและประชาชน ตำรวจได้รับการปกป้องจากการทำงาน มีเหตุและผลในการตัดสินใจต่างๆ ประชาชนได้รับการปกป้องจากการประพฤติโดยมิชอบของตำรวจ น่าสนใจมั้ยล่ะครับ เครื่องบินอากาศยานติดกล้องตรวจรังสีความร้อน หรือ อินฟาเรด แบบบังคับภายนอก อุปกรณ์ตัวนี้จะสาม

กฏหมายของไทยที่ส่งเสริมสิทธิสตรี และ ขจัดการเลือกปฏิบัติ

รูปภาพ
บรรยายโดย นางพัชรี อาระยะกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสิรมความเสมอภาคระหว่างเพศ ให้สิทธิกับสตรีในการดำเนินการธุรกรรมต่างๆได้สะดวกขึ้น พระราชบัญญํติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑  คลิ๊ก   พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๘  คลิ๊ก สิทธิในการได้รับการทุเลาการบังคับโทษจำคุกของสตรีมีครรภ์หรือมีบุตรในวัยเยาว์ พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๕ ) พ.ศ.๒๕๕๐ คลิ๊ก สิทธิชายหรือหญิงคู่หมั้นในการเรียกค่าทดแทน สิทธิในการฟ้องหย่า พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ฉบับที่ ๑๖ ) พ.ศ.๒๕๕๐ คลิ๊ก สิทธิในการลาเลี้ยงดูบุตร ชายและหญิง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕ คลิ๊ก การรับรองสิทธิในการสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่สมรส คลิ๊ก สิทธิในการได้รับความคุ้มครองจากการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้ ถูกกระทำ ด้วย ความรุนแรงในครอบครัว  พ.ศ. 2550  คลิ๊ก ผู้ถูกกระทำหรือผู้ที่พบเห็นการกระทำ -แจ้งด้วยคำพูด -ยื่นเป็นหนังสือ -โทรศัพท์

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW)

รูปภาพ
CEDAW เป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่ประกันสิทธิมนุษยชนของสตรี จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๓๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๒ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CEDAW โดยการภาคยานุวัติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘ โดยปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมลงนาม ๑๘๖ ประเทศ มีหลักการสำคัญดังนี้ สิทธิมนุษย์ชนของผู้หญิง (เพศสภาวะ) - รวมไปถึงกลุ่มข้ามเพศด้วย  ต้องเข้าถึงความยุติธรรมทุกคน การไม่เลือกปฏิบัติ - ภาครัฐต้องเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาทมากขึ้น ความเสมอภาคอย่างแท้จริง - ต้องปรับความเสมอภาคให้เท่าเทียมกับคนในสังคม หน้าที่ของรัฐ - รัฐต้องดำเนินการที่เหมาะสมโดยไม่ชักช้า ครอบครัวทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดการเลือกปฏิบ้ติต่อสตรีและให้ประกันว่าสตรีจะต้องได้รับประโยชน์และโอกาสต่างๆ จากรัฐบนพื้นฐานความเสมอภาค CEDAW กับพนักงานสอบสวน   -การคำนึงถึงความแตกต่าง ข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เ่ช่นการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว การกระทำผิดทางเพศ การดำเนินการปกป้องและคุ้มครองสิทธิม

ปฐมบท "โรงพักคุณธรรม"

รูปภาพ
***คำเตือน*** บทความนี้ เป็นเรื่องของอุดมการณ์ ที่ได้รับปลูกฝังมาจากโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้เขียนพยายามที่จะนำมาใช้ในชีวิตจริง ในการทำงานจริง หากมีข้อความใด ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่พอใจ โปรดให้อภัยและนึกย้อนกลับไป ว่าเรา อยากจะมีสังคมที่ดีหรือไม่ในวันที่ก้าวออกมาทำงานในชีวิตจริง.. ในเมื่อเราไม่เจอ ทำไมเราไม่ สร้างให้คนรุ่นหลังได้เจอสังคมที่ดีอย่างที่เราฝันไว้ละ มาร่วมสร้างด้วยกันดีกว่า สู้ๆ ผมเองก็ไม่ใช่ตำรวจที่ดีอะไรมากมาย เพียงแค่ผมรู้แล้วว่ามันไม่ดี ผมอยากทำให้มันดีขึ้น เท่านั้นเอง.. ขอบคุณที่พร้อมจะเข้าใจนะครับ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------                             สวัสดีครับ ห่างหายไปกับการเขียนบล็อค...   ไม่ได้หายไปไหนครับ ไปทำหน้าที่ สารวัตรศูนย์ ๑๙๑ คอยดูแลระบบให้ประชาชน ที่โทรเข้ามายังศูนย์ได้พึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ... เป็นงานที่ไม่ใหญ่โต แต่มีความสำคัญ เพราะเป็นสัมผัสแรกที่ประชาชนได้โทรหาตำรวจครับ.. ภูมิใจคร

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ

เมื่อวานได้แรงบันดาลใจในการทำงานที่จะพัฒนาการช่วยเหลือประชาชนมาครับ ทุกคนส่วนใหญ่น่าจะเคยผ่านตามากับหนังที่ มีคนโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุ หรือคนร้ายหลบหนี แต่ตำรวจใช้พิกัดโทรศัพท์และ กล้องวงจรปิดติดตามไล่ล่าคนร้ายใช่หรือเปล่าครับ.. ในอนาคตประเทศไทย กำลังจะมีระบบแบบนั้นแน่นอนครับ คำตอบอยู่ที่บทความด้านล่างครับ "จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 สำนักงานตำรวจแห่ง ผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรน ในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ทำให้มองเห็นภาพว่าภายใน 4 ปี การทำงานของตำรวจ พยาบาล ดับเพลิง หน่วยบรรเทาสารธารณสุข จะเปลี่ยนไป เป็นมาตราฐานสากลมากขึ้น... มากขึ้นยังไง ผมจะเล่าให้ฟังครับ ถ้าใครไม่อยากอ่านยาว ไปอ่านสรุปในย่อหน้าสุดท้ายก็ได้ครับ ได้ประโยชน์เหมือนกัน แต่จะไม่รู้ความเป็นมา นะจะบอกให้ ^.^" ในประเทศไทย การพัฒนาหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ๑๙๑ ได้เริ่มต้น ใน ปี 49 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ว่าจ้างคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หมายวิทยาลัย ทำการวิจัยระบบรับแจ้งเหตุฯ โดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่นอเมริกา และออกเตรเลีย เป็นต้น ผลการวิจัยในครั้งนั้น เสนอให้ สตช. พัฒนาศูนย์รับ