อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW)


CEDAW เป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่ประกันสิทธิมนุษยชนของสตรี จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๓๔ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๒

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CEDAW โดยการภาคยานุวัติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘ โดยปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมลงนาม ๑๘๖ ประเทศ



มีหลักการสำคัญดังนี้
สิทธิมนุษย์ชนของผู้หญิง (เพศสภาวะ) - รวมไปถึงกลุ่มข้ามเพศด้วย  ต้องเข้าถึงความยุติธรรมทุกคน
การไม่เลือกปฏิบัติ - ภาครัฐต้องเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาทมากขึ้น
ความเสมอภาคอย่างแท้จริง - ต้องปรับความเสมอภาคให้เท่าเทียมกับคนในสังคม
หน้าที่ของรัฐ - รัฐต้องดำเนินการที่เหมาะสมโดยไม่ชักช้า
ครอบครัวทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว


มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดการเลือกปฏิบ้ติต่อสตรีและให้ประกันว่าสตรีจะต้องได้รับประโยชน์และโอกาสต่างๆ จากรัฐบนพื้นฐานความเสมอภาค



CEDAW กับพนักงานสอบสวน  


-การคำนึงถึงความแตกต่าง ข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เ่ช่นการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว การกระทำผิดทางเพศ การดำเนินการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และกฏหมายของไทย


ประโยชน์ของอนุสัญญา

-การสร้างมาตราฐาน ความรับผิดชอบของรัฐ ต่อประชาชน
-นิยามศัพท์ต่างๆ การจำแนกประเภทของสิทธิ
-ช่องทางการรายงาน
-การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง

****ข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้ด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ครั้งที่ ๑
ระหว่างวันที่ ๓-๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ****


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

"ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวลชวนจิตไซร้ ไป่มี"

ความในใจของลูกผู้ชายคนนึง

อีกก้าวของความสำเร็จในชีวิตตำรวจ กับตำแหน่ง"สารวัตร"