หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ

เมื่อวานได้แรงบันดาลใจในการทำงานที่จะพัฒนาการช่วยเหลือประชาชนมาครับ

ทุกคนส่วนใหญ่น่าจะเคยผ่านตามากับหนังที่ มีคนโทรศัพท์ไปแจ้งเหตุ หรือคนร้ายหลบหนี แต่ตำรวจใช้พิกัดโทรศัพท์และ กล้องวงจรปิดติดตามไล่ล่าคนร้ายใช่หรือเปล่าครับ.. ในอนาคตประเทศไทย กำลังจะมีระบบแบบนั้นแน่นอนครับ คำตอบอยู่ที่บทความด้านล่างครับ

"จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 สำนักงานตำรวจแห่ง ผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรน ในวันที่ 5 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ทำให้มองเห็นภาพว่าภายใน 4 ปี การทำงานของตำรวจ พยาบาล ดับเพลิง หน่วยบรรเทาสารธารณสุข จะเปลี่ยนไป เป็นมาตราฐานสากลมากขึ้น... มากขึ้นยังไง ผมจะเล่าให้ฟังครับ ถ้าใครไม่อยากอ่านยาว ไปอ่านสรุปในย่อหน้าสุดท้ายก็ได้ครับ ได้ประโยชน์เหมือนกัน แต่จะไม่รู้ความเป็นมา นะจะบอกให้ ^.^"

ในประเทศไทย การพัฒนาหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ๑๙๑ ได้เริ่มต้น ใน ปี 49 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ว่าจ้างคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หมายวิทยาลัย ทำการวิจัยระบบรับแจ้งเหตุฯ โดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่นอเมริกา และออกเตรเลีย เป็นต้น ผลการวิจัยในครั้งนั้น เสนอให้ สตช. พัฒนาศูนย์รับแจ้งเหตุฯทั่วประเทศ และออกกฏหมายหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อรองรับการทำงาน

ในปี 51 สตช. เสนอร่าง พรบ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ต่อ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อเป็นกฏหมายรองรับการทำงาน,กำหนดอัตราโทษแก่ผู้ก่อกวน รวมไปถึงการให้ความร่วมมือจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ แต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี (รับผิดชอบ สตช. ในขณะนั้น) ส่งเรื่องคืนให้ สตช. ไปพิจารณาร่วมกับ มหาดไทย (มท.) สาธารณสุข (สธ.) และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยให้เหตุผลว่า ไม่จำเป็นต้องออกเป็น พรบ. ให้หาแนวทางอื่น เพื่อทำงานร่วมกันพอ และจากการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่กล่าวมาหลายครั้ง ก็ทำให้สรุปผลไม่ได้ การพัฒนาเลยยังไม่เกิดขึ้น ทางสตช.จึงต้องปรับร่างพรบ.ใหม่ เป็น พรบ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ไม่ต้องกระทบกับหน่วยงานอื่น...

ในปี 55 สตช. เสนอร่าง พรบ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสำนักงานตำรวจชาติ ต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี (รับผิดชอบ สตช. ในขณะนั้น) ซึ่งได้มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาว่าควรออกกฏหมายฉบับนี้หรือไม่ ซึ่งได้พิจารณา หลักการส่วนใหญ่ในพรบ.ฉบับนี้ สามารถนำกฏหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันมาบังคับใช้ได้ (กฏหมายเดิม ครอบคลุมหมดแล้ว) เพียงแค่ให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกเป็นประกาศกำหนด อนุญาตให้ สตช. ใช้หมายเลข 191 ในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ ดังนั้นความจำเป็นในการออกพรบ.ฯ ดังกล่าวก็หมดไป ขาดเพียงแต่บทกำหนดโทษสำหรับผู้ใช้เท่านั้นเอง ทำให้ความพยายามในการร่างพรบ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ของสตช. ไม่สำเร็จในขณะนั้น

ปัจจุบัน พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มองเห็นว่า ปัจจุบันหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน มีหลายเลข ทำให้ประชาชนสับสนในการแจ้งเหตุ จึงได้สั่งการให้กสทช. ไปควบรวมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ให้เหลือหมายเลขเดียว โดยให้กสทช. เป็นแม่งาน ทางกสทช. ก็ได้ไปว่าจ้างให้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งผลการศึกษามีข้อเสนอว่า ควรตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน สี่แห่ง ในสี่ภาค ของประเทศไทย โดยใช้หมายเลข 112 ที่ยังว่างอยู่ และเป็นหมายเลขสากลที่ใช้กันทั่วโลก และประเมินงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ประมาณ 1,800 ล้านบาท ซึ่ง กสทช.ก็ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม หารือความเป็นไปได้ ซึ่งพล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. ผู้ผลักดันให้สตช.มีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ เป็นผู้ไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น

ผลการประชุม ก็ได้เปลี่ยนจากจัดตั้งศูนย์ภาคละศูนย์ เปลี่ยนเป็นให้ตำรวจเป็นผู้รับผิดชอบและใช้หมายเลข 191 เป็นหมายเลขรับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ และมีศูนย์ทุกจังหวัด เพราะ สตช.ได้ดำเนินการจั้งตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ในทุกจังหวัดเรียบร้อยแล้ว มีสถานที่และบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน พร้อมทำงานได้ทันที...

โดยแผนการทำงานที่ สจล. เสนอจะเป็นดังนี้

ระยะที่ 1 ภายในสองปีแรก 2558 - 2560
- จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ ( ตำรวจดำเนินการแล้ว )
- จัดทำมาตราฐานการปฏิบัติงาน (ตำรวจดำเนินการแล้ว)
- เชื่อมโยงการดำเนินการของศูนย์ควบคุมกลางเลขหมายเดียว ของแต่ละท้องที่ของกรุงเทพและปริมณฑล (ระหว่างดำเนินการ)
- มีระบบแจ้งหมายเลขเพื่อระบุผู้โทรสำหรับโทรศํพท์ประจำที่ และ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ( ตำรวจดำเนินการแล้ว )
- มีระบบแจ้งตำแหน่งอัตโนมัติสำหรับโทรศัพท์ประจำที่ ( อยู่ระหว่างดำเนินการ )
ระยะที่ 2 ปีที่สองถึงปีที่สี่ 2560 -2562

- สามารถรับ / ประสาน / เชื่อมต่อระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุ ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อทำงานแบบไร้รอยต่อ ( อยู่ในระหว่างดำเนินการ)
- มีระบบแจ้งตำแหน่งอัตโนมัติสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยระบุพิกัดสถานีฐาน ( อยู่ในระหว่างดำเนินการ )

ระยะที่ 3 ปีที่สี่ ถึงปีที่หก 2562 - 2564
- สามารถรับ / ประสาน / เชื่อมต่อระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุ ทั่วประเทศ เพื่อทำงานแบบไร้รอยต่อ ( อยู่ในระหว่างดำเนินการ)
- มีระบบแจ้งตำแหน่งอัตโนมัติสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยระดับความยำรัศมี 200 เมตร

โดยในศูนย์รับแจ้งเหตุทั่วประเทศ จะมีทั้ง จนท.ตำรวจ จนท.สาธารณสุข จนท.พยาบาล จนท.ดับเพลิง จนท.บรรเทาสาธารณภัย รวมไปถึงบริการสาธารณะต่างๆ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ มาร่วมปฏิบัติงานภายในศูนย์ รวมทั้ง ระบบกล้องวงจรปิดอีกด้วย
จากแผนที่ข้างต้น ผมคิดว่า หากมีงบประมาณและกฏหมายรองรับ สามารถดำเนินการได้ไม่ยาก ขาดแต่ว่าจะมี คณะทำงานที่มีความจริงใจ ตั้งใจ และ ไม่หวังผลประโยชน์ในการทำงาน มาผลักดันให้สำเร็จหรือไม่เท่านั้นเองครับ

"สรุป" ภายใน หกปี ข้างหน้า ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ 191 จะปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น การระบุพิกัดตำแหน่งโทรศัพท์ บุคคลสูญหาย กล้องวงจรปิด ปัญหาอาชญากรรม การรับสินบนของเจ้าพนักงานจะ ค่อยๆ ลดลง จนหมดไป เพราะเทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามาควบคุมและดูแลทั้งหมด

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้มองเห็นภาพการทำงานศูนย์รับแจ้งเหตุ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้นะครับ

ขอบคุณที่อ่านครับ
พันตำรวจตรี วสุเทพ ใจอินทร์
หัวหน้าศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
https://www.facebook.com/191Phichit

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

"ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวลชวนจิตไซร้ ไป่มี"

ความในใจของลูกผู้ชายคนนึง

อีกก้าวของความสำเร็จในชีวิตตำรวจ กับตำแหน่ง"สารวัตร"