Good Soldier - Bad Cop ทหารดี - ตำรวจเลว
ถ้าคุณเคยเป็นตำรวจสืบสวน หรือ ติดตามหนังเกี่ยวกับการสืบคดีต่างๆ คุณคงจะเคยได้ยินสำนวนที่ว่า
Good Cop - Bad Cop ตำรวจดี-ตำรวจเลว
สำนวนดังกล่าวมันคือเทคนิคการสืบสวนของตำรวจ โดยการใช้ตำรวจสองนายเจรจาต่อรองกับบุคคลที่ต้องการข้อมูล นายหนึ่งจะใช้วิธีข่มขู่ กดดัน ทำให้เกรงกลัวอันตรายที่จะได้รับ
อีกนายหนึ่งจะใช้วิธีปลอบโยน ทำให้รู็สึกว่าเป็นพวก และสามารถช่วยเหลือเค้าได้
ปกติธรรมดาของคน เมื่อเจอภาวะกดดันจากตำรวจเลว พอมีตำรวจดีมาช่วยก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือทันที เพื่อเอาตัวรอดตามสัญชาติญาณ.... นั่นคือ Good Cop - Bad Cop
แต่สำนวนดังกล่าวใช่ว่าจะใช้แค่เทคนิคในการสืบสวนเท่านั้น มันกลับเป็นศาสตร์ของการปกครองแขนงนึง ครั้งแรกที่ผมสัมผัสศาสตร์การปกครองชนิดนี้คือสมัยที่ผมเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร!!
กล่าวคือ นักเรียนบังคับบัญชาโรงเรียนเตรียมทหาร ในสมัยนั้น ( 2544-2546 ) ในกองพันนึงจะมีประมาณ 13 คน แบ่งเป็นหัวหน้าหมวด 9 คน หัวหน้ากอง 3 คน และหัวหน้ากองพัน 1 คน
นักเรียนบังคับบัญชาแต่ละคนก็จะต้องประชุมกันว่า ใครจะเล่นบทฝืด (โหด) ใครจะเล่นบท แฟร็งค์ (ดี) ในกองพันของตน เพื่อฝึกจิตใจของรุ่นน้องให้เข้มแข็งเป็นนายตำรวจ นายทหารที่อดทนพร้อมทุกสถานการณ์ในอนาคต ...
คนที่เล่นบทฝืด รุ่นน้องจะเกลียดเข้าไส้ มีโอกาสจะด่ารุ่นพี่คนนั้นทุกเมื่อ ส่วนคนที่เล่นบทแฟร็งค์ รุ่นน้องจะรักมาก และชื่นชมพี่คนนั้นตลอด คำถามคือแล้วใครจะอยากเล่นบทโหด?
ส่วนใหญ่ก็อยากจะเล่นบทดีกันทั้งนั้นเพื่อให้น้องรัก... แต่สุดท้ายก็ต้องมีคนเสียสละเล่นบทโหดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้รุ่นน้องต่อไป....
ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจก็ไม่ต่างอะไรกับโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้ช่วยนายตำรวจปกครองแต่ละกองร้อยก็มีทั้งฝืดและแฟร็งค์เช่นกัน....
กลับมาสู่ยุคปัจจุบัน สถานการณ์ในขณะนี้ที่ตำรวจ-ทหาร ต่างมีบทบาทในการเมืองอย่างชัดเจน การประกาศกฏอัยการศึก ที่ทำให้ตำรวจกับทหาร เกิดการวิพากย์วิจารณ์กันกว้างขวาง เพื่อนของผมที่เป็นทั้งตำรวจและทหาร มีทั้งที่ต่อว่ากัน ตำรวจก็ต่อว่าทหารว่ามาเล่นบทพระเอกทีหลัง ทั้งที่ตำรวจรับสถานการณ์มาตลอด เพื่อนทหารก็ด่าว่าตำรวจ เป็นขี้ข้า รับใช้ทรราชย์นักการเมือง....
ผมอยากบอกเพื่อนๆ ทั้งตำรวจ-ทหารนะครับ ว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์เดียว ต่างเป็นข้าราชการรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานกระบี่ แก่พวกเราให้ทำหน้าที่ดูแลประชาชนของพระองค์ คงไม่มีตำรวจทหารคนใดคิดคดทรยศต่อชาติแน่นอนครับ....ให้พวกเรารักกันไว้ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี วันนึงเราต่างเป็นใหญ๋ เป็นโต เราจะได้ร่วมกันสร้างชาติไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ตำรวจอย่าได้น้อยใจ อย่าได้ว่าเพื่อนทหารเลย เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ ถ้าอยากให้สงบสุขและแก้ไขปัญหาได้จริงๆ ตำรวจจะเล่นคนเดียวไม่ได้ เพราะประชาชนส่วนหนึ่งไม่มีทางยอมรับตำรวจในฐานะ Good Cop ต้องให้ทหารมาช่วยเล่นแทน.. ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ถ้าผลสุดท้าย ประเทศชาติของเราดีขึ้น เกิดมาบนแผ่นดินนี้ ต้องทดแทนคุณแผ่นดิน..
สำหรับผม ตำรวจ-ทหาร คือพี่น้องกัน คือเสาหลักที่รักษาประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่น หากจะต้องเป็น Bad Cop - Good Soldier เพื่อความสงบสุขของประเทศไทยจะได้กลับคืนมา ผมเชื่อว่าตำรวจทุกคนยินดีที่จะรับบทนี้ เพราะหากเราไม่เสียสละทำแล้ว... ใครเล่าจะทำ.... เพราะเราคือ "ตำรวจไทย"
สารวัตรเป็นไท
นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 44
นักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 60
Good Cop - Bad Cop ตำรวจดี-ตำรวจเลว
สำนวนดังกล่าวมันคือเทคนิคการสืบสวนของตำรวจ โดยการใช้ตำรวจสองนายเจรจาต่อรองกับบุคคลที่ต้องการข้อมูล นายหนึ่งจะใช้วิธีข่มขู่ กดดัน ทำให้เกรงกลัวอันตรายที่จะได้รับ
อีกนายหนึ่งจะใช้วิธีปลอบโยน ทำให้รู็สึกว่าเป็นพวก และสามารถช่วยเหลือเค้าได้
ปกติธรรมดาของคน เมื่อเจอภาวะกดดันจากตำรวจเลว พอมีตำรวจดีมาช่วยก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือทันที เพื่อเอาตัวรอดตามสัญชาติญาณ.... นั่นคือ Good Cop - Bad Cop
แต่สำนวนดังกล่าวใช่ว่าจะใช้แค่เทคนิคในการสืบสวนเท่านั้น มันกลับเป็นศาสตร์ของการปกครองแขนงนึง ครั้งแรกที่ผมสัมผัสศาสตร์การปกครองชนิดนี้คือสมัยที่ผมเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร!!
กล่าวคือ นักเรียนบังคับบัญชาโรงเรียนเตรียมทหาร ในสมัยนั้น ( 2544-2546 ) ในกองพันนึงจะมีประมาณ 13 คน แบ่งเป็นหัวหน้าหมวด 9 คน หัวหน้ากอง 3 คน และหัวหน้ากองพัน 1 คน
นักเรียนบังคับบัญชาแต่ละคนก็จะต้องประชุมกันว่า ใครจะเล่นบทฝืด (โหด) ใครจะเล่นบท แฟร็งค์ (ดี) ในกองพันของตน เพื่อฝึกจิตใจของรุ่นน้องให้เข้มแข็งเป็นนายตำรวจ นายทหารที่อดทนพร้อมทุกสถานการณ์ในอนาคต ...
คนที่เล่นบทฝืด รุ่นน้องจะเกลียดเข้าไส้ มีโอกาสจะด่ารุ่นพี่คนนั้นทุกเมื่อ ส่วนคนที่เล่นบทแฟร็งค์ รุ่นน้องจะรักมาก และชื่นชมพี่คนนั้นตลอด คำถามคือแล้วใครจะอยากเล่นบทโหด?
ส่วนใหญ่ก็อยากจะเล่นบทดีกันทั้งนั้นเพื่อให้น้องรัก... แต่สุดท้ายก็ต้องมีคนเสียสละเล่นบทโหดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้รุ่นน้องต่อไป....
ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจก็ไม่ต่างอะไรกับโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้ช่วยนายตำรวจปกครองแต่ละกองร้อยก็มีทั้งฝืดและแฟร็งค์เช่นกัน....
กลับมาสู่ยุคปัจจุบัน สถานการณ์ในขณะนี้ที่ตำรวจ-ทหาร ต่างมีบทบาทในการเมืองอย่างชัดเจน การประกาศกฏอัยการศึก ที่ทำให้ตำรวจกับทหาร เกิดการวิพากย์วิจารณ์กันกว้างขวาง เพื่อนของผมที่เป็นทั้งตำรวจและทหาร มีทั้งที่ต่อว่ากัน ตำรวจก็ต่อว่าทหารว่ามาเล่นบทพระเอกทีหลัง ทั้งที่ตำรวจรับสถานการณ์มาตลอด เพื่อนทหารก็ด่าว่าตำรวจ เป็นขี้ข้า รับใช้ทรราชย์นักการเมือง....
ผมอยากบอกเพื่อนๆ ทั้งตำรวจ-ทหารนะครับ ว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์เดียว ต่างเป็นข้าราชการรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานกระบี่ แก่พวกเราให้ทำหน้าที่ดูแลประชาชนของพระองค์ คงไม่มีตำรวจทหารคนใดคิดคดทรยศต่อชาติแน่นอนครับ....ให้พวกเรารักกันไว้ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี วันนึงเราต่างเป็นใหญ๋ เป็นโต เราจะได้ร่วมกันสร้างชาติไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ตำรวจอย่าได้น้อยใจ อย่าได้ว่าเพื่อนทหารเลย เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้ ถ้าอยากให้สงบสุขและแก้ไขปัญหาได้จริงๆ ตำรวจจะเล่นคนเดียวไม่ได้ เพราะประชาชนส่วนหนึ่งไม่มีทางยอมรับตำรวจในฐานะ Good Cop ต้องให้ทหารมาช่วยเล่นแทน.. ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ถ้าผลสุดท้าย ประเทศชาติของเราดีขึ้น เกิดมาบนแผ่นดินนี้ ต้องทดแทนคุณแผ่นดิน..
สำหรับผม ตำรวจ-ทหาร คือพี่น้องกัน คือเสาหลักที่รักษาประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่น หากจะต้องเป็น Bad Cop - Good Soldier เพื่อความสงบสุขของประเทศไทยจะได้กลับคืนมา ผมเชื่อว่าตำรวจทุกคนยินดีที่จะรับบทนี้ เพราะหากเราไม่เสียสละทำแล้ว... ใครเล่าจะทำ.... เพราะเราคือ "ตำรวจไทย"
สารวัตรเป็นไท
นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 44
นักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 60
ประเพณีในเตรียมทหารนั่นน่าจะแค่เด็ก ม.ปลายเล่นกันนะครับ
ตอบลบอย่าไปยึดติดเรื่องแกล้งดีแกล้งเลวเลย เขียนแบบนี้ออกแนวประชดประชัน น้อยใจพี่น้องกัน ยุยงให้แตกแยกเปล่าๆ
รักษาตัวให้เป็น Good Cop Good Soldier บ้านเมืองจึงจะเจริญอย่างแท้จริง
เป็นกำลังใจให้ข้าราชการทุกท่านนะครับ
ครับผม บทความนี้เพื่อนที่เป็นทหารเข้าใจผมครับ เพราะเราต่างถูกปลูกฝังมาจากโรงเรียนเตรียมทหารเช่นเดียวกัน แต่ก็ขอน้อมรับในคำเตือนครับ ผมจะรักษาตัวให้เป็น Good Cop Good Soldier ต่อไปครับ
ลบ